วัฒนธรรม อ.แม่จัน

วัฒนธรรม อ.แม่จัน

ประเพณียี่เป็ง

ที่บริเวณสนามกีฬาโรงเรียนบ้านแม่จัน (เชียงแสนประชานุสาสน์) อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย สภาวัฒนธรรมอำเภอแม่จันได้มีการจัดงานสืบสานวัฒนธรรม ป๋าเวณียี่เป็ง เมืองแม่จันโดยนายสมศักดิ์ คณาคำ นายอำเภอแม่จัน พร้อมด้วยนายบรรเจิด ภูสมศรี รักษาการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายเป็นประธานเปิดงานโดยมีแขกผู้มีเกียรติพร้อมทั้งสื่อมวลชน เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก
โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. จำนวน 11 แห่ง ได้จัดขบวนกระทงพร้อมทั้งนางนพมาศมาประกวดประชันอย่างสวยงาม นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดกิจกรรมมากมาย อาทิเช่น การประกวดแข่งขันงานหัตถกรรมฝีมือการแสดงจารีตประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้านการประกวดแห่กระทงการประกวดกระทงประดิษฐ์การประกวดโคมแขวนการประกวดหนูน้อยนพมาศและการประกวดนางนพมาศ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามที่มีมาอย่างยาวนานโดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ภายในงานยังมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าของกินของใช้ที่ระลึกรวมทั้งมีการจำหน่ายกระทงประดิษฐ์ด้วยวัสดุทางธรรมชาติมีประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้ามาร่วมชมงานในครั้งนี้ยังคึกคักกว่า 10,000 คน

อำเภอแม่จัน จัดยิ่งใหญ่สืบสานประเพณีปีใหม่ชาติพันธุ์ ประจำปี ๒๕๕๙
อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์จัดพิธีสืบสานประเพณีปีใหม่ชาติพันธุ์ ประจำปี 2559 เพื่อส่งเสริมเป็นศูนย์รวมทางวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นสืบต่อกันมาเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ที่บริเวณสนามหน้าโรงเรียนบ้านสันติสุข หมู่ที่ ๑๙ ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย นายศักดิ์ชาย วงศ์กนิษฐ์ ปลัดจังหวัดเชียงราย นายสมศักดิ์ คณาคำ นายอำเภอแม่จัน ผู้นำปกครองส่วนท้องถิ่นประชาชนและกลุ่มมวลชนชาติพันธุ์ ทั้ง 9 ชาติพันธุ์ จัดให้มีพิธีสืบสานประเพณีปีใหม่ชาติพันธุ์ ประจำปี 2559 อย่างยิ่งใหญ่ท่ามกลางหุบเขาล้อมรอบโดยพิธีจัดให้มีกิจกรรมหลากหลายเชื่อชาติและเผ่าพันธุ์ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาลและเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวถ่ายทอดถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ดำรงคงอยู่รักษาศิลปและวัฒนธรรมที่ดีงาม
นายสมศักดิ์ คณาคำ นายอำเภอแม่จัน การจัดงานสืบสานประเพณีปีใหม่ชาติพันธุ์สืบเนื่องจากการที่ประชากรในอำเภอแม่จันมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์อันเป็นลักษณะเด่นที่สืบทอดมาแต่โบราณกาล ทั้งนี้เพราะสภาพภูมิประเทศที่ส่งเสริมให้เมืองแม่จันเป็นศูนย์รวมทางวัฒนธรรมเป็นเมืองที่ผู้คนทั้งจากดินแดนต่างๆ และชาวพื้นเมืองอีกหลายกลุ่มที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนระหว่างไทย เมียนมาร์และจีนตอนใต้อพยพเข้ามาตั้งรกรากอำเภอแม่จันจึงประกอบด้วยชนหลายเชื้อชาติแต่ละชาติพันธุ์มีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษา วรรณกรรม ประเพณี และความเชื่อที่สั่งสมจากประสบการณ์และถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นสืบต่อกันมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเพณีเฉลิมฉลองขึ้นปีใหม่ ซึ่งในวันขึ้นปีใหม่ของกลุ่มชาติพันธุ์จัดเป็นงานประเพณีที่ถือว่ามีความสำคัญที่สุดเนื่องจากจะมีพิธีกรรมต้อนรับใหม่การขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์และผู้อาวุโสมีการจัดการแข่งขันกีฬา ปะเพณี และการละเล่นต่างๆ อำเภอแม่จันได้เล็งเห็นคุณค่าทางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่กำลังจะสูญหายจึงได้ร่วมกับสภาวัฒนธรรมอำเภอแม่จันองค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึงจัดงานสืบสานประเพณีปีใหม่ชาติพันธุ์ประจำปี ๒๕๕๙ ขึ้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ดำรงอยู่รักษาศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาอันเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งได้รับความร่วมมือจาก องค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึงพี่น้องชาวลาหู่ บ้านสันติสุข ตำบลป่าตึง พี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ทุกชนเผ่าและโดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ที่ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณการจัดงานครั้งนี้อีกด้วย








ที่พักในอำเภอแม่จัน


ที่พักในอำเภอแม่จัน

Phu Chaisai Mountain Resort & Spa



Phu Chaisai Mountain Resort & Spa มีทัศนียภาพภูมิทัศน์ที่กว้างไกลจากบนยอดเขา ที่นี่ให้บริการค็อทเทจมุงจากที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รีสอร์ทแห่งนี้ยังมีสวนสมุนไพร สระว่ายน้ำอินฟินิตี้ ห้องสมุด และห้องอาหารResort Phu Chaisai ห่างจากดอยแม่สลองและดอยตุงซึ่งเป็นภูเขาที่สวยงาม 30 กิโลเมตร และห่างจากสนามบินเชียงราย 35 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีบริการที่จอดรถฟรีที่นี่ให้บริการค็อทเทจไม้ไผ่ซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางพฤกษชาติเขตร้อนและติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ประกอบด้วยเตียงพร้อมหลังคาและมุ้งตกแต่ง พื้นไม้ ระเบียงส่วนตัว ตู้นิรภัย และอินเทอร์เน็ตไร้สาย (Wi-Fi) ฟรีผู้เข้าพักสามารถเพลิดเพลินไปกับบริการนวดสปาผ่อนคลาย หรือเลือกซื้อสินค้าที่ร้านของที่ระลึกซึ่งจำหน่ายงานฝีมือท้องถิ่นและแยมโฮมเมด นอกจากนี้ รีสอร์ทยังมีชั้นเรียนทำอาหารสำหรับผู้เข้าพักห้องอาหารให้บริการอาหารไทยและอาหารนานาชาติแสนอร่อยซึ่งปรุงโดยใช้วัตถุดิบตามฤดูกาลจากสวนสมุนไพรและตลาดท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีบริการรูมเซอร์วิสพักผ่อนและจิบกาแฟอย่างสบาย ๆ เพราะท่านสามารถเช็คเอาท์ได้ถึง 12:00ท่านสามารถเพลิดเพลินกับสิทธิประโยชน์ฟรีในระหว่างการเข้าพัก ยกตัวอย่างเช่น WiFiและที่จอดรถเราพูดภาษาของท่าน!ที่พักนี้เปิดให้จองผ่าน Booking.com ตั้งแต่ 23 มิ.ย. 2011ห้องพักว่าง: 50
http://www.booking.com/hotel/th/phu-chaisai-mountain-resort-ban-mae-chan.th.html


Manee Dheva Resort & Spa





มณีเทวา รีสอร์ทแอนด์สปา ขายหมดอย่างรวดเร็วบนไซต์ของเรา Manee Dheva Resort and Spa ตั้งอยู่ห่างจากสนามบินนานาชาติเชียงรายโดยใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ 30 นาที ให้บริการห้องพักสไตล์ล้านนาและฟรีอินเทอร์เน็ตไร้สาย (Wi-Fi) ท่านสามารถเพลิดเพลินกับสระว่ายน้ำว่ายน้ำกลางแจ้งที่รีสอร์ท รีสอร์ทห่างจาจังหวัดเชียงรายโดยใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ 45 นาที ห่างจาก Mae Salong Central Hills 20 กม.ห้องพักปรับอากาศตกแต่งอย่างมีเอกลักษณ์ มีทีวีระบบช่องสัญญาณดาวเทียม 32 นิ้ว ห้องครัวขนาดเล็กพร้อมอุปกรณ์ชงชาและกาแฟ ห้องน้ำในตัวมีอ่างอาบน้ำและฝักบัวแยกเป็นสัดส่วนรีสอร์ทมีบริการซักรีด บริการรับฝากสัมภาระ บริการนวด และสปาห้องอาหารริมสระว่ายน้ำ Na Kham Luang ให้บริการอาหารเช้า อาหารกลางวัน และอาหารค่ำ รวมถึงน้ำชายามบ่าย พักผ่อนและจิบกาแฟอย่างสบาย ๆ เพราะท่านสามารถเช็คเอาท์ได้ถึง 12:00ท่านสามารถเพลิดเพลินกับสิทธิประโยชน์ฟรีในระหว่างการเข้าพัก ยกตัวอย่างเช่น WiFiและที่จอดรถเราพูดภาษาของท่าน!ที่พักนี้เปิดให้จองผ่าน Booking.com ตั้งแต่ 12 มิ.ย. 2012ห้องพักว่าง: 9

สินค้า O-Top อ.แม่จัน

สินค้า O-Top อ.แม่จัน
ประวัติความเป็นมา
ตำบลแม่จัน ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของ อำเภอแม่จัน ประกอบไปด้วย 12 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านร้องผักหนาม, หมู่ที่ 2 บ้านแม่จัน, หมู่ที่ 3 บ้านแม่จันตลาด, หมู่ที่ 4 บ้านเด่น - ป่าสัก, หมู่ที่ 5 บ้านปงตอง - ต้นฮ่าง, หมู่ที่ 6 บ้านเวียงหวาย, หมู่ที่ 7 บ้านเหมืองฮ่อ, หมู่ที่ 8 บ้านศาลา , หมู่ที่ 9 บ้านหนองแว่น, หมู่ที่ 10 บ้านห้วยโจ้ - จอป่าคา, หมู่ที่ 11 บ้านปงอ้อ, หมู่ที่ 12 บ้านสันมงคล
พื้นที่
ทิศเหนือ ติดกับ ต.สันทราย อ.แม่จัน จ.เชียงราย
ทิศใต้ ติดกับ ต.ท่าสุด อ.เมือง จ.เชียงราย
ทิศตะวันออก ติดกับ ต.ท่าข้าวเปลือก อ.เมือง จ.เชียงราย
ทิศตะวันตก ติดกับ ต.ป่าตึง อ.เมือง จ.เชียงราย
เขตพื้นที่
จำนวนประชากรในเขต อบต. 6,430 คน และจำนวนหลังคาเรือน 1,615 หลังคาเรือน
อาชีพ
อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน/ทำไร่
อาชีพเสริม รับจ้างทั่วไป
สาธารณูปโภ
- ไฟฟ้าใช้ทั้ง 7 หมู่บ้าน
- ประปา
- โทรศัพท์ใช้ทั้ง 7 หมู่บ้าน
การเดินทาง
ถนนพหลโยธิน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ดอนเชียงราย - แม่จัน
ผลิตภัณฑ์
เสื้อสำเร็จรูปผ้าพื้นเมือง, ปูนปั้น และการแกะสลัก
http://www.thaitambon.com/tambon/570701


ผลิตภัณฑ์


                ผ้าไหม                                                                        ไม้แกะสลัก


สถานที่ท่องเที่ยว

สถานที่ท่องเที่ยว

ดอยแม่สลอง



ดอยแม่สลอง คือเทือกเขาที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดเชียงราย อยู่ติดกับชายแดนไทย-พม่า   ลักษณะเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน บนดอยแม่สลองเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชาวจีนฮ่อ หรืออดีตกองทัพจีนกองพล 93 ทหารจีนธนชาติที่ถูกกองทัพของเหมาเจ๋อตุงตีจนต้องถอยร่นลงมายังภาคเหนือของไทย แล้วก็โดนพม่าตีจนต้องถอยล่นเข้ามาอาศัยแผ่นดินทไทยที่บนดอยแม่สลอง อดีตทหารรุ่นเก่าได้ช่วยไทยเราไว้ก็เยอะในการของการปราบปรามพวกคอมมิวนิสต์ในยุคก่อนๆ แต่ลูกหลายในปัจจุบันก็สร้างปัญหาไว้ก็ไม่ใช่น้อย  สิ่งที่น่าสนใจของดอยแม่สลองคือทัศนียภาพที่งดงาม จากถนนหลายหลักหมายเลข 1 มีเส้นทางผ่านดอยแม่สลองออกมาทางท่าตอน ทะลุเข้าฝาง  เส้นทางขึ้นดอยแม่สลองมีทัศนียภาพที่สวยงาม ของข้างทางปลูกซากุระไว้ตลอดในช่วงฤดูหนาวจะออกดอกสวยงามมาก ซากุระนี่เองที่ทำให้ดอยแม่สลองมีชื่อเสียงโด่งดังในเวลาอันรวดเร็ว  บนดอยแม่สลองมีบ้านพักในบรรยากาศดีๆ ไว้บริการหลายแห่ง และมีร้านอาหารจีน มีชารสดีขึ้นชื่อให้ได้ชิมแล้วซื้อกลับบ้าน 
การเดินทาง  จากตัวเมืองเชียงรายใช้เส้นทางสาย 110 ผ่านอำเภอแม่จันไปเล็กน้อยจะพบกับปั๊มน้ำมัน ปทต ปั๊มแรก เลยจากปั๊มไปเล็กน้อยคือทางแยกขวาขึ้นดอยแม่สลอง ที่ปั๊มน้ำมันแห่งนี้คือจุดต่อรถตู้ที่จะขึ้นดอยแม่สลอง หากมีความประสงค์ขับรถขึ้นไปเองก็ได้ แต่ถ้าจะเช่ารถก็ติดต่อเช่าที่ปั๊ม ระยะทางจากแยกถึงดอยแม่สลองประมาณ 12 กิโลเมตร

พระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินฯ


พระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินฯเป็นเจดีย์สีขาวงามสง่าตั้งอยู่บนจุดสูงสุดของดอยแม่สลอง ชื่อว่า พระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินทราสถิตมหาสันติคีรี  ทางขึ้นอยู่เลยบริเวณหมู่บ้านเพียงเล็กน้อย มีทางแยกขึ้นเขา ทางขึ้นเป็นทางชันมาก หากรถสภาพไม่ดีหรือรถดีแต่คนขับไม่เก่งไม่สมควรขึ้น  บริเวณจอดรถมีไม่มาก  ด้านทิศตะวันออกหรือด้านหลังของเจดีย์เป็นที่ตั้งของพระอุโบสถ์ที่สวยงาม  เมื่ออยู่บนจุดนี้มองลงไปยังเบื้องล่างจะเห็นวิวที่สวยงามที่สุดของทุกมุมมองของดอยแม่สลอง


หมู่บ้านชาวอาข่าหล่อชา 


หมู่บ้านชาวอาข่าหล่อชา 
เป็นหมู่บ้านชาวเขา เป็นโครงการนำร่องของ โครงการหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วม  ภายในหมู่บ้านนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตประจำวันตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่า ชมหมู่บ้านชาวอาข่าในแบบเดิมๆ ที่ไม่ได้เสริมแต่งเพื่อการท่องเที่ยว หากมีเวลาน่าแวะไปเยี่ยมชม หมู่บ้านหล่อชา อยู่ในเขตอำเภอแม่จัน เลยจากลานทองวิลเลจเล็กน้อย  จากลานทองวิลเลจ เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 1089 แม่จัน-ท่าตอน ผ่านป้อมตำรวจตรงไปอีก 1 กิโลเมตรถึง
ค่าธรรมเนียมการเข้าชม  ท่านละ 40 บาทเพื่อช่วยให้กิจกรรมของโครงการอยู่ได้
หากสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชุน โทร 053-719167

หากทางโครงการฯ ต้องการประชาสัมพันธ์ก็แจ้งมาได้ จะช่วยประชาสัมพันธ์ให้

ทุ่งบัวตองดอยหัวแม่คำ    
            ชมทุ่งบัวตองบานท่ามกลางหมู่บ้านชาวเขา ดอยหัวยแม่คำเป็นหมู่บ้านชาวไทยภูเขาหลายเผ่า ในแต่ละหมู่บ้านมีบ้านในรูปแบบของตนเองปลูกอยู่ตามที่ราบไหล่เขา และมีบัวตองกระจายอยู่ทั่วไปตามหมู่บ้าน ในช่วงเดือนพฤศจิกายนจะออกดอกสีเหลืองไปทั่วดอย  นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้ชมดอกบัวตองแล้วยังได้ชมวิถีชีวิตของ

ชาวเขาอีกด้วย
การเดินทาง  ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางขึ้นดอยแม่สลอง ระหว่างทางสังเกตป้ายหมู่บ้านเทอดไทย เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหมู่บ้านเทอดไทย ตรงไปจนสุดเส้นทางเกือบถึงชายแดนคือดอยหัวแม่คำ


ชมวิว ชิมชา ดอยวารี       
            ดอยวาวี อยู่ในเขตอำเภอแม่สรวยต่อเขตอำเภอแม่จัน อยู่ห่างจากจังหวัดเชียงรายประมาณ 100 กิโลเมตร ลักษณะเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนที่มีแปลงปลูกชาพันธุ์ดีทั่วทั้งเนินเขา เป็นจุดชมวิวที่สวยงาม บนดอยยังเป็นจุดชมทะเลหมอกที่สวยงาม  นอกจากมีไร่ชาให้ชมแล้วที่ดอยวาวียังมีรีสอร์ทบรรยากาศดีไว้รองรับนักท่องเที่ยว และมีกิจกรรมที่น่าสนใจหลายอย่างเช่น นั่งม้าขึ้นไปเที่ยวบนดอย ชมการเก็บชา และยังมีชารสดีให้ได้ลิ้มลอง ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีจะมีเทศกาลชิมชา  นับว่าเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งที่น่าสนใจ  http://www.tourdoi.com/north/chiangrai/page4.htm



ประวัติ อ.แม่จัน


ประวัติ อ.แม่จัน





























ประวัติ อ.แม่จัน
อำเภอแม่จันเดิมเป็นเพียงหมู่บ้านหรือตำบลหนึ่งในเขตควบคุมของเมืองเชียงแสนหลวง  ตามพงศาวดารโยนก  กล่าวว่า  เมืองเชียงแสนมีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณที่ราบลุ่มเชียงแสนทั้งหมด  ซึ่งมีอาณาเขตที่กว้างขวางต่อมา
เมืองเชียงแสนหลวงได้เกิดนำท่วมบ่อย   ปีหนึ่งนำจะท่วมเป็นเวลาหลายเดือน   ชาวบ้านแถบนี้ที่มีอาชีพเพาะปลูกและทำนาไม่สามารถที่จะทำนาได้จึงพากันอพยพลงมาทางใต้ ประมาณ  25   กิโลเมตร  มาอยู่ที่"บ้านขิ"
(ซึ่งปัจจุบันคือ  บ้านแม่คี   หมู่ที่ 7  และ หมู่ที่  9  ตำบลป่าซาง  อำเภอแม่จัน)ซึ่งมีบริเวณเป็นที่ราบลุ่มกว้างมีแม่นำไหลผ่าน   ทำเลดี  เหมาะแก่การเพาะปลูกและทำนา  และ  ยังมีชาวบ้านมาตั้งบ้านเรือนก่อนแล้วเกือบ 400หลังคาเรือน   ประกอบกับเป็นเส้นทางค้าขายยังรัฐฉาณและยูนาน  และต่อมาชาวบ้านเมืองเชียงแสนหลวงก็อพยพมาอยู่ร่วมกันที่บ้านขิเพิ่มมากขึ้น
         ในปี พ.ศ.  2424   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ทรงโปรดเกล้าให้เจ้าอินต๊ะ  ซึ่งครองเมือง  ลำพูน   ลำปาง  และ  เจ้ากาวิละ   เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่   นำราษฎรจากเชียงใหม่ประมาณ 1,500 ครัวเรือน  ไปไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองเชียงแสนหลวง  และพระราชทานบรรดาศักดิ์  เจ้าอินต๊ะ
เป็น  พระยาเดชดำรง   ตำแหน่ง         เจ้าเมืองเชียงแสน   ในปี พ.ศ. 2437การจัดตั้งอำเภอแม่จัน
          ในปี  พ.ศ. 2442    เป็นปีกุน  ( ช้าง )  จุลศักราช 1261  ตัวปีกัดไก้รัตนโกสินทร์ศก  118  คริสต์ศักราช  1900  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้  นายไชยวงศ์    บุตรของพระยาราชเดชดำรง  ( เจ้าอินต๊ะ )  เป็นพระยา
ราชเดชดำรง  สืบตระกูลแทนบิดา    เป็น  นายอำเภอแม่จัน  ที่เรียกว่า  " แขวงเชียงแสนหลวง" คนแรก  ซึ่งย้ายมาจากเมืองเชียงแสน  มาตั้งอยู่ที่อำเภอแม่จัน  โดยใช้ชื่อว่า "แขวงเชียงแสนหลวง" ( แม่จัน )  ในครั้งแรก
มาตั้งอาคารที่ว่าการอยู่ที่หมู่บ้านแม่คี  เพราะบ้านแม่คีสมัยนั้นเป็นหมู่บ้านใหญ่   เป็นศูนย์กลางการคมนาคม  และ  การค้าแลกเปลี่ยนสินค้า   จากนั้น    ได้ย้ายที่อาคารที่ทำการแขวงเชียงแสนหลวง ( อำเภอแม่จัน ) จาก
หมู่บ้านแม่คีลงมาทางทิศใต้ประมาณ  3 กิโลเมตร  มาสร้างอาคารที่ว่าการแขวงเชียงแสนหลวงใหม่ที่ริมฝั่งแม่นำจัน   ตำบลเวียงกาสา   จนถึง  ปี 2452เป็นปีเปิกเล้า  จุลศักราช  1271  ได้เปลี่ยนชื่อจาก " แขวงเชียงแสนหลวง"
มาเป็น "อำเภอแม่จัน"  ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา   อำเภอแม่จัน  หรือ แขวงเชียงแสนหลวงได้มีผู้มาปกครองบริหารราชการมาแล้ว  35  พระองค์,ท่าน  หรือ  นาย ดังนี้
     1.พระยาราชเดชดำรง ( เจ้าไชยวงค์)         แต่งตั้งพ.ศ.2442 - 2454
     2.พระแสนสิทธิเขตต์     (บุญสม  อินทรลาวัณย์) แต่งตั้งพ.ศ.2454-2466
     3.หลวงพินิจเปาวันเขตต์(มิ่ง  จารุชาติ) แต่งตั้งพ.ศ.2466-2468
     4.หลวงสิทธิประศาสน์ (คลาย  บุษบรรณ)  แต่งตั้ง พ.ศ.2468-2479
     5.ขุนวิสิฐอุดรการ  (กวี  พัชราภรณ์)แต่งตั้ง พ.ศ. 2479-2481
     6.หลวงศุภการบริรักษ์ (ชะลอ  จารุจินดา) แต่งตั้ง พ.ศ. 2481-2482
     7.ขุนบริรักษ์เกษมราษฎร์  แต่งตั้ง  พ.ศ.2482-2485
     8. นายถนอม      ควรสมาคม          พ.ศ. 2485  - 2486
     9.  นายศิริ   เพ็ชรโรจน์   พ.ศ.2486-2489
     10.นายอำนวย   เทพวัลย์  พ.ศ.2489-2489
     11. นายศิริ     เสนีเศรษฐ์  พ.ศ.2489-2490
     12. นายดุจ    สุนทราญ  พ.ศ.2490-2492
     13. นายสุวรรณ  เศวตศิลา  พ.ศ.2492-2497
     14.นายพร   สวัสดิ์บุรี   พ.ศ.2497-2498
     15.นายสุชาติ  สุขพันธ์วงศ์พันธ์  พ.ศ.2498-2501
     16.นายผลิ      ศรุตานนท์   พ.ศ.2501-2506
     17.นายประพิณ     สังขพงษ์     พ.ศ. 2506 -2510
     18.นายพุธ  ศิริพงษ์  พ.ศ. 2510 -2511
     19. ร.ต.บุญนพ    ถปติวงศ์  พ.ศ.2511 - 2513
     20. นายสมเสียม     รัตนสัค   พ.ศ.  2513 - 2515
     21.นายทองคำ    เขื่อนทา    พ.ศ. 2515 - 2519
     22.นายสมเกียรติ   เกียรติสมฤทธิ์   พ.ศ. 2519 - 2522
     23.  นายจำลอง   ศิริพันธ์   พ.ศ. 2522 - 2525
     24.  ร.ต.ประสิทธิ์    ไชยศรี  พ.ศ. 2525 - 2526
     25. ร.ต.ภักดี        นคร   พ.ศ.  2526 - 2528
     26.  นายเรืองวิทย์   จารุจารีต  พ.ศ. 2528 - 2530
     27.นายสำเริง   ปุณโยปกรณ์   พ.ศ. 2530 - 2532
     28. นายเรียบ     นราดิศร    พ.ศ. 2532  -  2533
     29. นายปริญญา   ปานทอง     พ.ศ. 2533 - 2537
     30. นายประยูร   วงษ์พานิช        พ.ศ. 2537 - 2541
     31.  นายจำรัส   สมินทรปัญญา     พ.ศ. 2541 - 2542
     32. นายชูชาติ     กีฬาแปง   พ.ศ. 2542  -  2546
     33.  นายวิศิษฐ์    สิทธิสมบัติ   พ.ศ. 2546 - 2550
     34.  นายศิรินิพนธ์     แจ้งจันทร์    พ.ศ. 2550-2550
     35. นายยงยุทธ     มฤคทัต   พ.ศ.2550  -  -10    พฤศจิกายน  2551
     36. นายอภิรักษ์       ศักดิ์สนิท  10  พฤศจิกายน 2551 -2พฤษภาคม 2554
     37. นายมนตรี        ชุนศิริทรัพย์  2 พฤษภาคม 2554 – ปัจจุบัน